การทำงานของบล็อกลม
หลักการทำงานของบล็อกลม
การทำงานของ บล็อกลม หรือ ประแจลม (Air Impact Wrench) เกิดจากลมที่เข้าจากช่องลมตรงไกกด ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวเปิดวาล์วให้ลมไหลเข้าเกียร์ และจากเกียร์เข้าไปที่โรเตอร์ ออกไปที่ช่องระบายลม จากนั้นเฟืองจะได้รับแรงจากการหมุนของโรเตอร์แล้วทำให้เสื้อใน (Impact case) ลูกตี (Hammer) แกน (Anvil) หมุนตามกัน ขณะใช้งานจะมีโหลด Load มากระทำที่ปลายแกน แรงบิดที่ส่งให้กับแกนเพื่อกระทำต่อ โหลด Load เกิดจากการหมุนของเสื้อใน (Impact case) และส่งผ่านลูกตี (Hammer) เข้าสู่แกน โดยการกระแทกกันระหว่างแกนกับลูกตี หลังจากกระแทกกันแล้วเฟืองจะทำให้ลูกตีดีดตัวกลับแล้วเริ่มต้นการทำงานในรอบใหม่ของเสื้อใน
วิธีการใช้งานบล็อกลม
- การใช้งานขันเข้า
ให้นำลูกบล็อกที่มีขนาดตามน็อตหรือสกรูประกับเข้าที่แกนบล็อก ในขณะที่ประกอบให้สังเกตว่าลูกบล็อกกับแกนบล็อกหลวมหรือไม่ ถ้าหลวมให้เปลี่ยนลูกบล็อก เนื่องจากการฝืนใช้จะไปจะทำให้แกนของบล็อกลมสึกเร็วกว่าปกติหรือเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ เช่น ลูกบล็อกหลุดออกจากแกนในขณะที่ใช้งาน หลังจากนั้นนำน็อตและสกรูขันเข้ากันประมาณ 1-2 เกลียวก่อนใช้บล็อกลมยิงที่เกียร์ 2 หรือ เกียร์ 3 ในการยิงบล็อกให้ยิงเป็นจังหวะครั้งละประมาณ 3-4 วินาที
- การใช้งานขันออก
ให้ขันออกที่เกียร์สูงสุดในการยิง ให้ยิงเป็นจังหวะครั้งละประมาณ 4-5 วินาที แต่ถ้ายิงไม่ออกให้ใช้น้ำมันเอนกประสงค์ (น้ำมันครอบจักรวาลเรมี่) ฉีดกัดสนิมออกก่อนแล้วใช้ด้ามขัน คลายสกรูหรือน็อตก่อนแล้วใช้บล็อกลมยิง
การบำรุงรักษาบล็อกลม
ควรใช้น้ำมันไฮโดรลิก เกรดสูง SAE10 หยอดเข้าไปที่ช่องลมเข้า เพื่อทำให้ บล็อกลม ไม่เกิดสนิมและยืดอายุการใช้งานบล็อกลม
- บล็อกลม 1 นิ้ว RM-50 และ RM-600H ให้หยอดน้ำมันตรงตำแหน่งใกล้กับตัวปรับซ้ายขวา (มีสัญลักษณ์ว่า OIL)
- บล็อกลม 4 หุน KP-858 หรือ บล็อกลม 6 หุน KP-1023 หยอดน้ำมันตรงทางลมเข้า (ปลายคอปเปอร์) แล้วใช้มือกดที่ตรงไกกดเพื่อให้น้ำมันลงไปในตัวบล็อก
จากนั้นยิงตัวบล็อกเปล่าเพื่อหล่อลื่นใบพัด โรเตอร์ แนะนำให้หยอดน้ำมันอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้งาน
นอกจากนี้การเปลี่ยนจารบีแนะนำให้ทำอย่างน้อย 2 เดือนครั้ง ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้งาน จารบีที่ใช้แนะนำให้ใช้จารบีกันกระแทกผสมแกรไฟต์สีดำ